Training

Linux คืออะไร?

06 Jun 2011

User Interface

Operating System User Interface หรือ UI ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบปฏิบัติการ มันคือส่วนที่ทำให้เราสามารถติดต่อเรียกใช้ฟังก์ชันต่างๆของระบบปฏิบัติการได้เช่น สั่งก็อปปี้ไฟล์หรือเปลี่ยนชื่อไฟล์ เป็นต้น UI ใน Linux นั้นมีสองรูปแบบด้วยกันคือ i) แบบ CLI และ ii) แบบ GUI แบบ CLI (Command Line Interface*) คือแบบ Text-based หรือการสั่งงานผ่านการพิมพ์คำสั่ง เช่นพิมพ์คำสั่ง cp เพื่อก็อปปี้ไฟล์ เป็นต้น รูปแบบนี้ทุกอย่างเป็น Text หมด ส่วนแบบ GUI (Graphical User Interface) คือแบบมีรูปภาพกราฟฟิกเน้นใช้สั่งการผ่านการคลิกหรือลากเมาส์ ทั้งสองรูปแบบก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ โดยมากหากใช้งาน Linux เป็นเครื่องประเภท Server แล้วล่ะก็มักจะเป็นแบบ CLI แต่หากเป็นการใช้งานในลักษณะ Desktop ใช้ส่วนตัวก็นิยมเป็นแบบ GUI มิเช่นนั้นก็ดูหนังเล่นเกมส์เปิดเว็บไม่ได้ เพราะ Applications เหล่านั้นต้องรันบน Environment แบบ GUI

*CLI บางตำราก็หมายถึง Command Language Interpreter แต่ในบทความนี้ต้องการสื่อถึง Text-based เพื่อเปรียบเทียบกับแบบ Graphical-based นะครับ

X Window

ในส่วนของการรันแบบ GUI ใน Linux นั้นเราจำเป็นต้องติดตั้ง X Window แล้ว X Window มันคืออะไร? X Window คือ Software Component ที่ช่วยในการวาดภาพบนหน้าจอ อีกทั้งยังรอรับคำสั่งผ่านเมาส์และคีย์บอร์ดอีกด้วย X Window ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยสถาบัน MIT ปัจจุบันถูกพัฒนาและดูแลโดยองค์กรที่ชื่อ XFree86 Project Inc และเป็นโอเพนซอร์สโปรเจคเช่นกัน

Window Managers (WM)

แม้จะมี X Window เป็นองค์ประกอบหนึ่งในระบบปฏิบัติการ แต่มันก็เป็นเพียงแค่ไลบรารี่กราฟฟิกเท่านั้น ในการที่ Linux จะแสดงผลในทางปฏิบัติให้ออกมาเป็นไอคอน, ปุ่ม, เมนู, หรือคอนโทรลต่างๆได้นั้น เป็นหน้าที่ของ Window Manager อีกที Window Manager ใน Linux มีให้เลือกใช้มากมายตามความเหมาะสมและความชอบของแต่ละคน Window Manager ที่เป็นที่นิยมได้แก่

Window Manager แต่ละตัวก็จะมีรูปแบบการแสดงผลและฟีเจอร์ที่แตกต่างกันไป WM บางตัวก็ไม่มี Start Menu อย่างที่มีใน MS Window, ไม่มี Taskbar บางตัวออกแบบมาให้ไม่ต้องใช้เมาส์เลยก็มีนะครับ ดังนั้นการใช้จึงขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน (รายละเอียดและความน่าสนใจของแต่ละตัวจะนำเสนอในโอกาสต่อไป)

*รูปภาพ Window Managers ต่างๆนำมาจากอินเทอร์เน็ต แต่ไม่สามารถอ้างอิงลิงค์ได้เพราะไม่มีตัวตนอีกแล้ว

Desktop Environments (DE)

การติดตั้ง Linux นั้นเราไม่ได้ต้องการเพียงแค่ Window Manager เท่านั้น แต่เราต้องการ Applications ต่างๆที่จำเป็นต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันด้วยอาทิเช่น

  • Text Editors หรือชุด Office เต็มรูปแบบ
  • File Managers เพื่อใช้จัดการไฟล์ต่างๆในแบบกราฟฟิก (เทียบเท่ากับ Finder ในเครื่อง Mac หรือ Window Explorer ใน MS Windows)
  • Multimedia Applications เพื่อดูหนังฟังเพลงหรือตัดต่อรูป
  • Web Browsers เพื่อเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต
  • และอื่นๆอีกมากมาย

ซึ่งโปรแกรมต่างๆที่เราต้องการนี้สามารถหาติดตั้งได้และก็เป็นโปรแกรมแบบโอเพนซอร์สซะเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ในแต่ละชนิดของโปรแกรมยังมีให้เลือกใช้มากมายจากหลากหลายค่ายด้วย แต่หากเราต้องการให้มีโปรแกรมทุกอย่างที่จำเป็นต้องใช้ติดตั้งมาให้เลยพร้อมสรรพและลงมาพร้อมกับ Window Manager แล้วละก็ เราจะต้องเลือกติดตั้งเป็น Desktop Environments แทน

Desktop Environment คือ Software Component ที่รวบรวมสิ่งแวดล้อมต่างๆที่จำเป็นต่อการใช้งานในรูปแบบของ GUI นั่นคือเมื่อติดตั้ง Desktop Environment แล้ว เราจะได้ Window Manager และโปรแกรมใช้งานในหมวดหมู่ต่างๆมาทันที ส่วนจะได้หน้าตาแบบไหนใช้ง่ายเพียงใดมีลูกเล่นมากแค่ไหนและโปรแกรมอะไรลงมาบ้างก็ขึ้นอยู่กับ Desktop Environment ที่เลือก อย่างไรก็ตามเราสามารถลบและติดตั้งโปรแกรมอื่นๆเพิ่มเติมภายหลังได้ Desktop Environment ที่เป็นที่นิยมได้แก่

การติดตั้ง Desktop Enviroments จึงให้ความสะดวกสบาย เนื่องจากมาพร้อมกับโปรแกรมและการตั้งค่าต่างๆที่พร้อมใช้งานได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น โน๊ตบุ๊คของคุณเมื่อลง DE แล้วสามารถใช้งาน Wifi ได้ทันทีเลย อย่างไรก็ตามบางครั้ง Desktop Environments ก็ลงโปรแกรมมาให้มากเกินกว่าความจำเป็น ทำให้หลายๆคนเลือกลงเพียง Window Manager และโปรแกรมที่จำเป็นเท่านั้น Desktop Environments ที่เป็นที่นิยมมากสุดคือ Gnome และ KDE


Books By Me

JavaScript Programming Guide book cover

JavaScript Programming Guide
Thai language
Kontentblue Publishing

About This Site

I use this site to share my knowledge in form of articles. I also use it as an experimental space, trying and testing things. If you have any problems viewing this site, please tell me.

→ More about me

→ Contact me

→ Me on facebook

Creative Commons Attribution License

creative commons logo

This license lets you distribute, remix, tweak my articles, even commercially, as long as you credit me for the original creation.

ด้วยสัญญาอนุญาตินี้ คุณสามารถเผยแพร่ ดัดแปลง แก้ไขและนำบทความของผมไปใช้ แม้ในเชิงธุรกิจ ตราบใดที่คุณได้อ้างอิงกลับมาและให้เครดิตกับผม